สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 6ฯ ตำบลคูบัว ได้จัดทำนวัตกรรมกล่องกันลืม โดยใช้ key message ของการดำเนินงานคือ “คูบัวกินข้าวแล้วไม่ลืมกินยา”

สถานการณ์ (ระดับความรุนแรงของกลุ่มเป้าหมาย สิ่งแวดล้อมที่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ) นำข้อมูล 13 ขั้นตอนในขั้นตอนที่ 1-4  มาสรุปวิเคราะห์สถานการณ์

สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ ตำบลคูบัว ดูแลประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 924 คน ผู้สูงอายุที่ป่วยโรคเบาหวานจำนวน 11 คน โรคความดันโลหิตสูงจำนวน 83 คน รวมทั้งสิ้น 94 คน พบว่า ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 72  ไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้จำนวน   29 คน คิดเป็นร้อยละ 35 สาเหตุ จากการสอบถามผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง กลุ่มไม่สามารถควบคุมได้จะมีพฤติกรรม คือ ลืม รับประทานยาตามหมอสั่งหลังรับประทานอาหาร เช่น ทานข้าวสาย กินข้าวไม่เป็นเวลา ไม่ได้ทำกับข้าวเอง ชอบรับประทานข้าวในปริมาณมาก และส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ

กลไกการขับเคลื่อนในการแก้ปัญหาสุขภาพ ด้วยกระบวนการ HLO (ขั้นตอนที่ 5-10) โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในระดับตำบลในการจัดการด้าน คน เงิน สิ่งของ เพื่อสนับสนุนในการจัดกิจกรรมในกลุ่มเสี่ยงโดยสร้างนวัตกรรมกล่องกันลืมให้กับกลุ่มผู้สูงอายุที่จัดอยู่ในกลุ่มไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิตได้ กระตุ้นเตือนผ่านจิตอาสา ญาติ ผู้นำชุมชน และทางออนไลน์ เช่น Facebook สอน.คูบัว และกลุ่มไลน์ต่างๆ เพื่อสร้างความรอบรู้ให้กลุ่มเป้าหมาย โดยใด้ key message ของการดำเนินงานคือ “ คูบัวกินข้าวแล้วไม่ลืมกินยา”

ประเมินผล (ขั้นตอนที่ 11) กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและรับประทานยาตรงเวลา จำนวน 37 คน สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและมีระดับความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติต่อเนื่อง 6 เดือน จำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 82.75 สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและระดับน้ำตาลในเลือดในเกณฑ์ปกติต่อเนื่อง 6 เดือน จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 75

บทเรียนสำคัญ (ขั้นตอนที่ 12-13) การแบ่งแยกกลุ่มผู้ป่วยอาจสามารถทำได้ทางสถิติ ทำให้เรารู้ข้อมูลในการเลือกปฏิบัติและให้คำแนะนำได้ตรงกลุ่มมากขึ้น การแบ่งสีที่กล่องใส่ยา พบว่า ผู้ป่วยไม่ได้

ตระหนักตรงที่สีหรือกลุ่มที่เราแบ่งในระดับต่างๆแต่คนไข้ประทับใจที่หมอใส่ใจดูแลและมอบกล่องใส่ยาที่ สวยน่ารัก ไปใส่ยาให้หาได้ง่ายมองเห็นได้ชัดเจน ทำให้ไม่ลืมกินยา เกิดภาพจำสัญลักษณ์กันลืม และค้นพบสาเหตุว่าผู้ป่วยเป็นโรคเดียวกัน อยู่ในกลุ่มที่ควบคุมน้ำตาลไม่ได้เหมือนกัน แต่สาเหตุอื่นๆที่แตกต่างกันนั้นก็สำคัญ เช่น ภาวะหลงลืมในผู้สูงอายุ เจ้าหน้าที่ต้องให้ความรู้และทำความเข้าใจกับญาติในการกินยาของผู้สูงอายุอย่างใกล้ชิด ร่วมถึงพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม