ข้อมูลเกี่ยวกับสถานีอนามัย

ประวัติความเป็นมาของมูลนิธิพัฒนาสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา นวมินทราชีนี

           ตามที่กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำโครงการทศวรรษ แห่งการพัฒนาสถานีอนามัย(พ.ศ.2535-2544)โดยมีการก่อสร้างสถานีอนามัยขนาดใหญ่มีทั้งการก่อสร้างปรับปรุงสถานีอนามัยเดิมและก่อสร้างใหม่รวมทั้งสิ้น 1576แห่ง ทั่วประเทศคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2535ในปีพุทธศักราช2535เป็นปีมหามงคล รัฐบาลได้จัดให้มีพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง 12 สิงหาคม พ.ศ.2535 กระทรวงสาธารณสุข จึงได้จัดทำโครงการก่อสร้างสถานีอนามัยขนาดใหญ่ น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็นอนุสรณ์แห่งความจงรักภักดี ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ล้นเกล้า ทั้ง 2 พระองค์

         ทรงพระราชทานนาม"สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี" มีชื่อย่อ สอน.เมื่อวันที่ 21 มกราราคม พ.ศ. 2536 กระทรวงสาธารณสุขขอพระราชทานนามสถานนีอนามัยขนาดใหญ่ 80แห่งต่อมา

         ทรงพระราชานุญาตให้ใช้ตรา"พระราชพิธี มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา"12 สิงหาคม 2535" ต่อมาทำเป็นหยดน้ำ ประดิษฐานที่"หน้าบัน"ด้านหน้าสถานีอนามัยฯทุกแห่งเพื่อเป็นมิ่งมหามงคลและเป็นเอกลักษณ์แก่ "สอน." ทุกแห่งจวบจนทุกวันนี้ ต่อมากระทรวงสาธารณสุขขอพระราชทานพระราชานุญาตใช้ตราสัญญาลักษณ์ พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจาสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง 12 สิงหาคม พ.ศ.2535 เป็นตรา"มูลนิธิพัฒนาสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี"

         ทรงพระราชทานพระราชวโรกาศให้คณะกรรมการมูลนิธิฯ และผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขนำหัวหน้าสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี เข้าเฝ้าถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2536เป็นต้นมา ยังความปลื้มปิติยินดีแก่ปวงเหล่า หัวหน้า สอน.เป็นล้นพ้น

        หลังจากกระทรวงสาธารณสุขได้ก่อสร้างสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี จำนวน 80 แห่ง ยังมียอดเงินพสกนิกรชาวไทยร่วมบริจาค และเหลือจากการก่อสร้างเป็นจำนวนเงิน8,620,787.32บาท กระทรวงสาธารณสุขจึงยื่นจดทะเบียนเป็นมูลนิธิฯ ณ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานครและได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนโดยสมบูรณ์เมื่อวันที่ 25 กรกฏาคม 2537 เลขทะเบียนลำดับที่ กท.304 โดยมีนายแพทย์อุทัย  สุดสุข เป็นผู้ยื่นขอจดทะเบียน ต่อมาได้เป็นประธานมูงนิธิฯคนแรก 
        ต่อมากระทรวงสาธารณสุขได้ทำเรื่องกราบทูลขอรับพระกรุณาธิคุณจากพระเจ้าวรวงศ์ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถทรงเป็นองค์นายกกิตติมศักดิ์ ทรงโปรดฯประทานพระมหากรุณาธิคุณรับเป็น องค์นายกกิตติมศักดิ์มูลนิธิฯยังความปราบปลื้มปิติแก่กระทรวงสาธารณสุข และปวงเหล่าเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินีเป็นล้นพ้น