แบบบทคัดย่อ “ งานพัฒนาคุณภาพ / CQI ”

การประชุมวิชาการสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย ปี 2563

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2563

ณ โรงแรมสุโขทัยเทรเซอร์ รีสอร์ทแอนด์สปา อ.เมือง จ.สุโขทัย

ชื่อผลงาน   “เครือข่ายหยุดยั้งทีบี”

ชื่อหน่วยงาน สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี เมืองเก่า จังหวัดสุโขทัย

ชื่อเจ้าของผลงาน นางสาวอลิษา  เปียจันทร์ ชื่อย่อวุฒิการศึกษา สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต

ชื่อผู้ร่วมผลงาน นายสมเกียรติ  เดชวรภัทรกุล  ประกาศนียบัตรเจ้าหน้าที่สาธารณสุข(พนักงานอนามัย)

ชื่อผู้นำเสนอผลงาน นางสาวอลิษา  เปียจันทร์  ชื่อย่อวุฒิการศึกษา สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต

1. เป้าหมาย : “ค้นให้พบ จบด้วยหาย ตายน้อยกว่า 5 ขาดยาเป็น 0”

2. ปัญหาและสาเหตุโดยย่อ : ปี 2561 มีผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ จำนวน 10 ราย อัตราความสำเร็จของการรักษา (Treatment success rate) ร้อยละ 70.00  และอัตราการเสียชีวิต ร้อยละ 30.00 และจากการติดตามผู้ป่วยวัณโรคพบว่าสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น3 ด้านได้แก่ (1.)ผู้ป่วยบางรายรับยาวัณโรคกินยาเองที่บ้าน ไม่มีการทำ DOT  ไม่สะดวกรับบริการเพราะต้องทำงาน ผู้ป่วยและญาติขาดความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยววัณโรคและยาเสื่อมคุณภาพจากการเก็บยาของผู้ป่วย (2.)ระบบการดำเนินงาน ระบบการประสานงานในแต่ละขั้นตอนยังไม่ชัดเจนและขาดการนิเทศติดตามงาน (3.)เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอสม. ขาดความรู้และไม่มีระบบการดำเนินงานมาตรฐาน และส่วนใหญ่ผู้เสียชีวิตจากการค้นหาล่าช้าผู้ป่วยมีอาการหนัก จะเป็นผู้สูงอายุมีโรคร่วม

3. กิจกรรมการพัฒนา : ทีมเฝ้าระวังและค้นหา (1.) อบรมให้ความรู้โครงการพัฒนาการค้นหาและดูแลผู้ป่วยวัณโรคในชุมชนให้กับแกนนำและอสม. (2.) ประชาสัมพันธ์การป้องกันโรควัณโรคในพื้นที่ โดยบูรณาการประชุมในรูปแบบต่างๆ เช่น การประชุมประจำเดือนในหมู่บ้าน/ชุมชน เวทีประชาคมหมู่ และประชาสัมพันธ์ผ่านคลื่นวิทยุรายการหมออนามัยใจดี เทศบาลตำบลเมืองเก่า ทุกวันศุกร์ช่วงเวลา 13.00 - 15.30 น.  (3.) สร้างเครือข่ายการเฝ้าระวัง ควบคุมและป้องกันวัณโรค โดยมีส่วนร่วมของชุมชน/ท้องถิ่น อย่างมีประสิทธิภาพ

ทีมพี่เลี้ยงควบคุมกำกับการกินยา (1.) อสม.แกนนำแต่ละหมู่บ้าน ดำเนินการควบคุมและกำกับการกินยาของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ โดยทำ DOT ทุกราย (2.) เพิ่มช่องทางการดูแลติดตามกำกับการกินยาในโดยการทำ DOT ผ่านทาง VDO call และLine (3.) สร้างกลุ่มlineเครือข่ายหยุดยั้งทีบีตำบลเมืองเก่า (4.)เจ้าหน้าที่ สอน.เมืองเก่า นำกระบวนการด้านจิตตปัญญาศึกษา แก้ไขปัญหาโดยใช้วิธีคิดเชิงระบบอริยสัจ4

ทีมติดตามและพัฒนาระบบข้อมูล  (1.)ทีมสสอ.เมืองสุโขทัย ลงพื้นที่ติดตามการควบคุมกำกับการกินยาและดูแลผู้ป่วยวัณโรคในพื้นที่ เดือนละ 1 ครั้ง (2.)จนท. งานควบคุมป้องกันวัณโรคเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอเมืองสุโขทัย ร่วมประชุมคณะทำงานป้องกันควบคุมวัณโรครับทราบแนวทางการดำเนินงาน ทุกไตรมาส

4. การประเมินผลของการเปลี่ยนแปลง :  การค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ และนำผู้ป่วยเข้าระบบการรักษาได้รวดเร็วขึ้น จึงทำให้อัตราความสำเร็จของการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่(Treatment success rate) เพิ่มขึ้นจากปี 2560 และ 2561 ร้อยละ 50.00 ร้อยละ 70.00 ปี2562 ร้อยละ 77.77 อัตราการเสียชีวิตลดลง ปี 2560-2562 ร้อยละ 37.5 30.00 22.23 ตามลำดับ และในปี2562 อัตราขาดยาเท่ากับ 0

5. บทเรียนที่ได้รับ : จากการดำเนินงานเครือข่ายหยุดยั้งทีบี ทำให้เกิดการเรียนรู้ระหว่างชุมชน ท้องถิ่นและทีมงานเครือข่ายทำงานร่วมกันอย่างเข้มแข็ง ประชาชนได้ตระหนัก ป้องกันวัณโรค ส่งเสริม และดูแลสุขภาพตนเอง จึงส่งผลให้งานป้องกันควบคุมวัณโรคในพื้นที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ยังพบว่าจุดอ่อนคือ การคัดกรองยังไม่ครอบคลุมตามเกณฑ์มากกว่าร้อยละ 90  ทีมสามารถเฝ้าระวังเหตุการณ์ผิดปกติได้แต่ยังป้องกันควบคุมวัณโรคได้ไม่ครอบคลุมทั้งหมดในพื้นที่ตำบลเมืองเก่า

6. การติดต่อกับทีมงาน : นางสาวอลิษา เปียจันทร์  สามารถติดต่อได้  เบอร์โทรศัพท์มือถือ082-0305909  E-mail : Report07370@gmail.com