ข้อมูลพื้นฐาน

ในอดีต พื้นที่อำเภอเขาชะเมามีสภาพพื้นที่เป็นป่าเชิงเขา ค่อนข้างสมบูรณ์ต่อมาได้มีการเปิดให้สัมปทานป่าไม้ จึงเป็นสาเหตุให้มีนายทุนต่างพื้นที่เข้ามาทำสัมปทานป่า และมีชาวบ้านในพื้นที่ใกล้เคียงเช่น ชาวบ้านจากปากทางเขาดิน สามแยกประแสร์ รวมไปถึงจากพื้นที่อื่นๆเข้ามารับจ้างตัดไม้และลากไม้ออกจากป่า ช่วงนี้ทำให้คนต่างท้องถิ่นเข้ามาปลูกที่พักอาศัยชั่วคราวกันเพื่อเป็นที่พักชั่วคราว ในเวลาที่เข้ามารับจ้างหลังจากที่รัฐประกาศปิดป่า ชาวบ้านกลุ่มดังกล่าวจึงต้องเลิกอาชีพตัดไม้ หันมาประกอบอาชีพเผ่าถ่านขายและปลูกผัก ทำไร่มันสำปะหลัง ไร่ถั่วลิสง ชาวบ้านกลุ่มนี้ได้มีชีวิตอยู่ร่วมกันทำให้เกิดความผูกพันกันมากขึ้น จึงได้ชักชวนให้ญาติและคนอื่นๆเข้ามาถางป่าจับจองที่ดินปลูกบ้านทำมาหากินร่วมกันจนเกิดเป็นชุมชนเล็กๆขึ้นมา ตามส้นทางชักลากไม้ การเดินทางใช้วิธีเดินเท้าและเกวียน อาชีพชาวบ้านกลุ่มแรกนี้ส่วนใหญ่จะเผาถ่าน ทำน้ำมันยาง ปลูกมันสำปะหลัง รับจ้างและเลี้ยงสัตว์ไว้กินกันในครอบครัว เมื่อประชากรเพิ่มขึ้นจึงทำให้มีการจัดระบบการตั้งบ้านเรือน ในช่วงนั้นบ้านเรือนจะตั้งกันเป็นคุ้มตามความสัมพันธ์เดิมที่มีคนรู้จักกันมาแต่ก่อนหรือคนที่สนิทกัน ก็จะมาอาศัยอยู่ในละแวกใกล้เคียงกัน เพื่อที่จะได้อาศัยพึ่งพากันในยามที่จำเป็น สภาพบ้านเรือนจะเป็นลักษณะที่อาศัยชั่วคราวพอหลบแดดหลบฝนได้ จะสร้างโครงสร้างง่ายๆจากไม้ที่หาได้ง่ายทั่วๆไป หลังคามุงหญ้าคา การประกอบอาชีพยังคงทำไร่มันสำปะหลัง ปลูกถั่วลิสง และเริ่มมีการทำสวนผลไม้และสวนยางพาราบ้างแต่ก็เป็นจำนวนน้อย

ต่อมาเมื่อผลไม้และยางพารามีราคาดีและให้ผลผลิตดีเนื่องจากสภาพดินมีความอุดมสมบูรณ์อยู่มากจึงทำให้ชาวบ้านหันมาทำสวนผลไม้และสวนยางพารากันมากขึ้น การทำไร่มันสำปะหลังและไร่ถั่วก็ลดลงตามลำดับ ในช่วงปี๒๕๒๑ ได้มีการอพยพครั้งใหญ่อีกครั้งของตนในพื้นที่ ในช่วงนี้เป็นช่วงที่คึกคักมาก เนื่องจากรายได้จากสวนผลไม้ที่นี่เป็นที่ดึงดูดผู้คนเข้ามาทำสวนผลไม้ ผู้คนที่อพยพเข้ามาในช่วงนี้มาจากหลายพื้นที่ด้วยกัน โดยมาจากภาคอีสานบ้าง แต่ที่ย้ายมาอยู่เป็นจำนวนมาก ได้แก่ จังหวัดสมุทรปราการ นนทบุรี ฉะเชิงเทรา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี นครปฐม และจากอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ผู้คนที่ย้ายเข้ามาส่วนใหญ่ย้ายเข้ามาเพราะถูกเวนคืนที่ดินเพื่อทำถนนหนทาง บ้างก็หนีความวุ่นวายของสังคมเมือง บ้างก็รักความสงบและมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยมีการก่อสร้างนิคมอุสาหกรรมแหลมฉบัง ทำให้ชาวบ้านขายที่ดินทำกินของตนแล้วมาซื้อที่ดินจำนวนหลายสิบไร่ เพื่อทำสวนผลไม้และทำการเกษตรอื่นๆ ช่วงเวลานั้นถนนหนทางยังเป็นทางลูกรัง ไม่มีไฟฟ้า มีจำนวนประชากรประมาณ ๑๐๐ หลังคาเรือน อาชีพทำสวนผลไม้เป็นที่นิยมมาก รวมทั้งปลูกพืชเชิงเดี่ยวในพื้นที่เดิมเป็นเวลานานธาตุอาหารในดินเริ่มลดลงสภาพดินเริ่มเสื่อมโทรม ผลไม้เริ่มให้ผลผลิตน้อยลง แมลงและโรคพืชต่างๆเริ่มทำให้ผลผลิตของชาวบ้านเสียหาย จึงเป็นที่มาของการพึ่งปุ๋ยเคมีและสารเคมีปราบศัตรูพืชมากขึ้น ต้นทุนการผลิตเริ่มสูงขึ้น ซึ่งยังคงเป็นสภาพปัจจุบันมาจนถึงทุกวันนี้

บ้านน้ำใส เดิมทีเป็นส่วนหนึ่งของตำบลทุ่งควายกิน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ต่อมากระทรวงมหาดไทยได้ประกาศให้แยกออกมาเป็นตำบลน้ำเป็นอำเภอแกลง จังหวัดระยอง เมื่อวันที่ ๑ เดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๒๖ โดยมีกำนันเส็ง ปธานราษฏร์ เป็นกำนันคนแรก เมื่อกำนันเกษียณอายุราชการในเวลาต่อมา บ้านน้ำใสในขณะนั้นเป็นหมู่ที่๘ ตำบลทุ่งควายกิน ได้มีผู้ใหญ่อัมพัน ปธานราษฏร์เป็นผู้ใหญ่บ้านและมีกำนันทรรมเนียม เลาหกัยกุล เป็นกำนันตำบลทุ่งควายกิน เมื่อผู้ใหญ่อัมพันเกษียณอายุราชการผู้ใหญ่เล็ก ยับยั้ง ก็ได้เป็นผู้ใหญ่บ้านเป็นคนต่อมา

เมื่อกระทรวงมหาดไทยได้ประกาศให้ตำบลน้ำเป็นแยกออกมาจากอำเภอแกลงมาเป็นส่วนหนึ่งของกิ่งอำเภอเขาชะเมา เมื่อวันที่ ๓๑ เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๓๖ บ้านน้ำใสจึงเปลี่ยนจากหมู่ที่๘ เป็นหมู่ที่๒ ของตำบลน้ำเป็น โดยมีผู้ใหญ่เล็ก ยับยั้ง เป็นผู้ใหญ่บ้าน จนเสียชีวิตจึงได้มีการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านคนใหม่ ซึ่งมีผู้ใหญ่ปรีชา เย็นใจ ได้รับเลือกให้เป็นผู้ใหญ่บ้านน้ำใสเมื่อวันที่ ๒๑ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๔ ต่อมากระทรวงมหาดไทยประกาศให้เป็นอำเภอเขาชะเมาเมื่อวันที่ ๒๘ เดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๕๐

ในส่วนของสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา นวมินทราชินี บ้านน้ำใส เดิมเป็นสถานีอนามัยขนาดทั่วไป ใช้ชื่อว่าสถานีอนามัยบ้านน้ำใส เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๓เป็นอาคารไม้ชั้นเดียว ตั้งอยู่หมู่ที่๘บ้านน้ำใส  ตำบลน้ำเป็น อำเภอแกลง จังหวัดระยอง  ต่อมาในปีพ.ศ.๒๕๓๖ได้แยกการปกครองเป็นกิ่งอำเภอเขาชะเมาจังหวัดระยอง เป็นหมู่ที่๒บ้านน้ำใส ตำบลน้ำเป็นกิ่งอำเภอเขาชะเม จังหวัดระยอง  โดยได้รับการบริจาคที่ดินจากนายโกศล เจริญพร เป็นเนื้อที่ทั้งสิ้น ๕ไร่๑งาน๗๘ตารางวา

ในปีงบประมาณ๒๕๓๕สถานีอนามัยบ้านน้ำใส ได้รับงบประมาณก่อสร้างสถานีอนามัยทดแทนจากกระทรวงสาธารณสุข เป็นเงินทั้งสิ้น ๒,๙๕๐,๕๐๐บาท ให้เป็นสถานีอนามัยขนาดใหญ่แห่งแรกของจังหวัดระยอง และทำพิธีวางศิลาฤกษ์พร้อมกับสถานีอนามัยขนาดใหญ่แห่งอื่นๆ ทั่วประเทศในวันที่ ๑๒เดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๓๕โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดระยองในขณะนั้นเป็นประธานในพิธีให้เป็นสถานีอนามัยขนาดใหญ่แห่งแรกของจังหวัดที่กระทรวงสาธารณสุขสร้างขึ้นเนื่องในวโรกาสเฉลิมฉลองพระชนมายุครบ ๖๐พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถและได้รับพระราชทานนามสถานีอนามัยเป็นสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ ๖๐พรรษา นวมินทราชินี  เหมือนกันทั่วประเทศ และสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ ๖๐พรรษา นวมินทราชินี บ้านน้ำใส ได้ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๔เดือนพฤษภาคมพ.ศ.๒๕๓๗โดยมีนายแพทย์ชินโอสถ หัสบำเรอ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุขในขณะนั้นเป็นประธานในพิธี และใช้อาคารนี้มาจนถึงปัจจุบันในปี ๒๕๕๓ รัฐบาลได้ยกระดับให้เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทั่วประเทศในปี๒๕๕๔ ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการพัฒนาสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา นวมินทราชินี บ้านน้ำใส โดยมีนายกวัลลภ ประธานราษฎร์ เป็นประธานคณะกรรมการชุดใหม่ มีการจัดทำบุญตักบาตรเลี้ยงพระเพลเนื่องในวันแม่แห่งชาติ (๑๒ สิงหาคม) และร่วมทอดผ้าป่าเพื่อจัดหาทุนทรัพย์ในการต่อเติมขยายพื้นที่ให้บริการโดยการต่อเติมอาคารผู้ป่วยนอก ห้องยานอก ห้องตรวจรักษา ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน ห้องกายภาพบำบัด และห้องทันตกรรมใช้เวลาในการก่อสร้าง ๓ ปี แล้วเสร็จในปี ๒๕๕๗ ในปี๒๕๕๖ มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงได้จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการพัฒนาสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษานวมินทราชินี บ้านน้ำใส โดยมีนางกรรัตน์ ยั่งยืน เป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำเป็น เป็นประธานคณะกรรมการชุดใหม่ มีการจัดทำบุญตักบาตรเลี้ยงพระเพลเนื่องในวันแม่แห่งชาติ (๑๒ สิงหาคม) และร่วมทอดผ้าป่าเพื่อจัดหาทุนทรัพย์ในการต่อเติมขยายพื้นที่ให้บริการโดยการต่อเติมอาคารแพทย์แผนไทย ซึ่งทางสถานีอนามัยได้รับการบรรจุข้าราชการในตำแหน่งแพทย์แผนไทยแต่ยังขาดพื้นที่ห้องแพทย์แผนไทยในการให้บริการ ใช้เวลาในการก่อสร้าง ๓ ปี แล้วเสร็จในปี๒๕๕๙ ในปี๒๕๖๐-๒๕๖๑ คณะกรรมการบริหารจัดการพัฒนาสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา นวมินทราชินี บ้านน้ำใส ได้ร่วมจัดทำผ้าป่าเพื่อจัดหาทุนทรัพย์ในการสร้างห้องน้ำสำหรับผู้มารับบริการที่สถานีอนามัยจำนวน ๑ หลัง (๔ ห้องน้ำแยกชายหญิง และ ๑ ห้องน้ำสำหรับผู้พิการผู้สูงอายุ)

ตารางที่๑ แสดงการดำรงตำแหน่งผู้บริหาร สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา นวมินทราชินี บ้านน้ำใส ในอดีต – ปัจจุบัน

ลำดับ

ชื่อ – สกุล

ตำแหน่ง

ปีที่ดำรงตำแหน่ง

นายสมัคร จันรทร์ดาแสง

เจ้าหน้าที่บริหารงานสาธารณสุข๔

ปี๒๕๑๓ - ๒๕๑๗

นางสมบรูณ์ ตั้งเจริญสุทธิชัย

เจ้าหน้าที่บริหารงานสาธารณสุข๖

ปี๒๕๑๗ - ๒๕๒๐

นายเกรียงศักดิ์  ทองประเสริฐ

เจ้าหน้าที่บริหารงานสาธารณสุข๖

ปี๒๕๒๑ - ๒๕๓๗

นายพิชิต สุภาพ

เจ้าหน้าที่บริหารงานสาธารณสุข๖

ปี๒๕๓๗ - ๒๕๔๑

นางดาวน้อย วงษ์ธนสุภรณ์

( รักษาราชการ )

นักวิชาการสาธารณสุข๖

ปี๒๕๔๒ - ๒๕๔๕

นายธนภัทร ทองก้อน

เจ้าหน้าที่บริหารงานสาธารณสุข๖

ปี๒๕๔๖ - ๒๕๕๐

นายธีรพงษ์ งามสม

เจ้าหน้าที่บริหารงานสาธารณสุข๗

ปี๒๕๕๑ - ๒๕๕๒

นายวิจิตร พิมพ์บุญ

ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ )

ปี๒๕๕๓ ปัจจุบัน

 

ที่ตั้ง 

สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา นวมินทราชินี บ้านน้ำใสตั้งอยู่เลขที่ ๒๗๗หมู่ที่๒บ้านน้ำใส  ตำบลน้ำเป็น อำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยอง มีเนื้อที่ ๕ไร่  ๑งาน ๗๘ตารางวา  รับผิดชอบพื้นที่ ๓ หมู่บ้าน ของตำบลน้ำเป็น คือ

หมู่ที่๒บ้านน้ำใส

                    หมู่ที่๓บ้านมาบช้างนอน

                    หมู่ที่๕บ้านสำนักกะเบา

โดยมีอาณาเขตติดต่อดังนี้

ทิศเหนือ          ติดหมู่ที่๑ตำบลห้วยทับมอญ

ทิศใต้             ติดหมู่ที่๑บ้านสามแยกน้ำเป็น  ตำบลน้ำเป็น

ทิศตะวันออก     ติดอุทยานแห่งชาติเขาชะเมา–เขาวง

ทิศตะวันตก      ติดหมู่ที่๙ ตำบลชำฆ้อและหมู่ที่๖ ตำบลบ้านนา อำเภอแกลง

ระยะทางจากสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯบ้านน้ำใสถึงที่ว่าการอำเภอเขาชะเมา ๑๐กิโลเมตรห่างจากโรงพยาบาลเขาชะเมาเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๑๓กิโลเมตรและห่างจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระยอง ๗๐ กิโลเมตร

แผนภูมิที่๑ แสดงแผนที่หมู่บ้านในพื้นที่รับผิดชอบ

ลักษณะภูมิประเทศ

พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสลับเนินเขา มีเทือกเขาชะเมาทอดตัวอยู่ทางทิศตะวันออกของพื้นที่ มีภูมิอากาศแบบร้อนชื้นมีฝนตกชุกเหมาะแก่การเพาะปลูกประชาชนส่วนใหญ่จึงมีอาชีพเกษตรกรรมทำสวนผลไม้ และสวนยางพาราเป็นอาชีพหลัก ที่อยู่อาศัยของประชาชนอยู่ในเขตชนบท การคมนาคมสะดวก มีถนนลาดยางผ่านทุกหมู่บ้านประชาชนส่วนใหญ่มีรถจักรยานยนต์และรถยนต์ใช้เอง ไม่มีรถโดยสารประจำทางผ่านเส้นทางหลัก

สภาพเศรษฐกิจและอาชีพ

สภาพเศรษฐกิจและรายได้อยู่ในระดับปานกลาง ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตร ได้แก่ ส่วนยางพารา สวนผลไม้ พืชไร่ อาชีพประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางด้านเกษตรกรรม คิดเป็นร้อยละ๖๘.๐๐รองลงมาประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป คิดเป็นร้อยละ๑๘.๑๖ และประกอบอาชีพค้าขาย คิดเป็นร้อยละ๓.๘๔

การคมนาคม

มีถนนสายสำคัญ ได้แก่สายเขาดิน-สี่แยกพัฒนา และมีถนนสายต่างๆในหมู่บ้านเชื่อมต่อทั้งภายในหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และยังเชื่อมต่อไปต่างอำเภอได้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นถนนลาดยางหมดแล้ว การเดินทางของประชาชนส่วนใหญ่จะใช้ถนยนต์ส่วนตัว เนื่องจากไม่มีรถยนต์โดยสารประจำทาง และเพื่อความสะดวกในการติดต่อค้าขายพืชผลทางด้านการเกษตร แต่ก็ยังมีรถรับจ้างในหมู่บ้านเพื่อรับส่งนักเรียนที่เดินทางออกไปเรียนหนังสือต่างตำบล เช่น ตำบลชำฆ้อ ตำบลห้วยทับมอญ อำเภอเขาชะเมาและยังมีเด็กนักเรียนบางส่วนที่เดินทางไปเรียนหนังสือนอกพื้นที่อำเภอเช่นที่อำเภอแกลง อำเภอวังจันทร์และที่ตัวจังหวัดระยอง

สภาพสังคมและวัฒนธรรม

สภาพสังคมแบบชนบทด้านการเกษตรอยู่รวมกันเป็นครอบครัวพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เมื่อในอดีตมีการอพยพย้ายถิ่นฐานมาจากหลายจังหวัด เช่น ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ปทุมธานี สมุทรปราการ นนทบุรี เพื่อมาจับจองที่ทำกินทางด้านการเกษตร เนื่องจากป่าในแถบเขาชะเมายังมีความอุดมสมบูรณ์ สัตว์ป่าของป่ายังหาได้ง่ายและบางส่วนก็ทำสวนมันสำปะหลัง ปลูกพืชไร่ หาของป่า ในปัจจุบันสภาพป่าได้เปลี่ยนไปจากการรุกที่ของประชาชนและความต้องการของประชาชนมีมากขึ้น ประกอบกับราคาพืชผลทางด้านการเกษตรมีราคาสูงมขึ้น จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงจากทำสวนมันสำปะหลัง ปลูกพืชไร่ หาของป่า มาเป็นการทำสวนผลไม้ ทำสวนยางพา ซึ่งกลายมาเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศไป

ทางด้านวัฒนธรรมประเพณี ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และมีการถือปฏิบัติวัฒนธรรมประเพณีสืบทอดกันมาจากหลายๆพื้นที่ เนื่องจากประชนส่วนใหญ่อพยพย้ายถิ่นมาจากหลายๆจังหวัด แต่ที่มีคล้ายๆกันก็คือวัฒนธรรมประเพณีตามพุทธศาสนา เช่น การทำบุญในวันสำคัญทางพุทธศาสนา งานบวช งานแต่งงาน ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ ประเพณีวันสงกรานต์ ฯลฯ วัดจึงเป็นศูนย์รวมจิตใจและจุดเริ่มต้นความสัมพันธ์ของคนในชุมชน และคนที่เข้ามาอยู่ใหม่ๆ จะได้รับการต้อนรับจากคนที่อยู่ก่อน ด้วยเหตุนี้จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ชาวบ้านน้ำใสมีลักษณะที่เป็นมิตรเข้าได้กับคนอื่นได้ง่าย และยอมรับคนที่เข้ามาใหม่เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน โดยใช้วัดเป็นสถานที่ของการเรียนรู้และทำความรู้จักกันในช่วงเทศการงานบุญต่างๆ ที่จะมีการพูดคุยกันถามไถ่สารทุกข์สุขดิบปัญหาการดำเนินชีวิตของกันและกัน

ผู้อำนวยการสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ

ที่อยู่ : 277 หมู่ที่ 2 บ้านน้ำใส

โทรศัพท์ : 0812952074

โทรสาร :

E-mail : [email protected]

WebSite :

เลขที่แบบแปลนอาคารสำนักงาน :

ขนาดพื้นที่อาคาร (ตรม.) : ปีที่ ก่อสร้าง :

ข้อมูลอาคารอื่นๆ

ประชากรทั้งหมด (typearea1+2+3) : 0 คน

ประชากรที่รับผิดชอบ (typearea 1 + 3) : 0 คน

ประชากร UC : 0 คน

เครื่อข่ายปฐมภูมิ : ยังไม่มีเครือข่าย

แพทย์ผู้ให้บริการ : คน บริการ :

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวให้บริการ : คน บริการ :

จำนวนผู้รับบริการเฉลี่ย/เดือน คน ครั้ง

จำนวนผู้รับบริการแพทย์แผนไทยเฉลี่ย/เดือน คน ครั้ง

โปรแกรมทางการแพทย์ : อื่นๆ

ข้อมูลวันที่ : 543

รายรับ : บาท

รายจ่าย : บาท

สถานะเงินคงเหลือ : บาท